คำจำกัดความ

มาตรา ๑  ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าคำใดมีคำอธิบายไว้แล้ว ให้ถือตามความหมายดังได้อธิบายไว้ เว้นแต่ข้อความในตัวบทจะขัดกับคำอธิบายนั้น
มาตรา ๒  ในประมวลกฎหมายนี้
(๑) ศาลหมายความถึงศาลยุติธรรมหรือผู้พิพากษา ซึ่งมีอำนาจทำการอันเกี่ยวกับคดีอาญา
(๒) ผู้ต้องหาหมายความถึงบุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระทำความผิด แต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล
(๓) จำเลยหมายความถึงบุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด
(๔) ผู้เสียหายหมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา ๔, ๕ และ ๖
 (๕) พนักงานอัยการหมายความถึงเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล  ทั้งนี้ จะเป็นข้าราชการในกรมอัยการหรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้
(๖) พนักงานสอบสวนหมายความถึงเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน
(๗) คำร้องทุกข์หมายความถึงการที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตามซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ
 (๘) คำกล่าวโทษหมายความถึงการที่บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ ว่ามีบุคคลรู้ตัวหรือไม่ก็ดี ได้กระทำความผิดอย่างหนึ่งขึ้น
(๙) หมายอาญาหมายความถึงหนังสือบงการที่ออกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้สั่งให้เจ้าหน้าที่ทำการจับ ขัง จำคุก หรือปล่อยผู้ต้องหา จำเลย หรือนักโทษ หรือให้ทำการค้น รวมทั้งสำเนาหมายจับหรือหมายค้นอันได้รับรองว่าถูกต้อง และคำบอกกล่าวทางโทรเลขว่าได้ออกหมายจับหรือหมายค้นแล้ว ตลอดจนสำเนาหมายจับหรือหมายค้นที่ได้ส่งทางโทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น  ทั้งนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗๗
(๑๐) การสืบสวนหมายความถึงการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด
(๑๑) การสอบสวนหมายความถึงการรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดและเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ
(๑๒) การไต่สวนมูลฟ้องหมายความถึงกระบวนไต่สวนของศาลเพื่อวินิจฉัยถึงมูลคดีซึ่งจำเลยต้องหา
(๑๓) ที่รโหฐานหมายความถึงที่ต่าง ๆ ซึ่งมิใช่ที่สาธารณสถานดังบัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะอาญา
(๑๔) โจทก์หมายความถึงพนักงานอัยการ หรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาลหรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน
(๑๕) คู่ความหมายความถึงโจทก์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง
(๑๖) พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจหมายความถึงเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ให้รวมทั้งพัศดี เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า พนักงานตรวจคนเข้าเมือง และเจ้าพนักงานอื่น ๆ ในเมื่อทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย ซึ่งตนมีหน้าที่ต้องจับกุมหรือปราบปราม
(๑๗) พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่หมายความถึง เจ้าพนักงานดังต่อไปนี้
(ก) ปลัดกระทรวงมหาดไทย
(ข) รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
(ค) ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย
(ฆ) ผู้ช่วยปลัดกระทรวงมหาดไทย
(ง) อธิบดีกรมการปกครอง
(จ) รองอธิบดีกรมการปกครอง
(ฉ) ผู้อำนวยการกองการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
(ช) หัวหน้าฝ่ายและหัวหน้างานในกองการสอบสวนและนิติการกรมการปกครอง
(ซ) ผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง
(ฌ) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(ญ) รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(ฎ) ปลัดจังหวัด
(ฏ) นายอำเภอ
(ฐ) ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
(ฑ) อธิบดีกรมตำรวจ
(ฒ) รองอธิบดีกรมตำรวจ
(ณ) ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ
(ด) ผู้บัญชาการตำรวจ
(ต) รองผู้บัญชาการตำรวจ
(ถ) ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจ
(ท) ผู้บังคับการตำรวจ
(ธ) รองผู้บังคับการตำรวจ
(น) หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด
(บ) รองหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด
(ป) ผู้กำกับการตำรวจ
(ผ) ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเขต
(ฝ) รองผู้กำกับการตำรวจ
(พ) รองผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเขต
(ฟ) สารวัตรใหญ่ตำรวจ
(ภ) สารวัตรตำรวจ
(ม) ผู้บังคับกองตำรวจ
(ย) หัวหน้าสถานีตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
(ร) หัวหน้ากิ่งสถานีตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรี หรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ทั้งนี้ หมายความรวมถึงผู้รักษาการแทนเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้ว แต่ผู้รักษาการแทนเจ้าพนักงานใน (ม) (ย) และ (ร) ต้องมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปด้วย
(๑๘) สิ่งของหมายความถึงสังหาริมทรัพย์ใด ซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีอาญาได้ ให้รวมทั้งจดหมาย โทรเลขและเอกสารอย่างอื่น ๆ
(๑๙) ถ้อยคำสำนวนหมายความถึงหนังสือใดที่ศาลจดเป็นหลักฐานแห่งรายละเอียดทั้งหลายในการดำเนินคดีอาญาในศาลนั้น
(๒๐) บันทึกหมายความถึงหนังสือใดที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจดไว้เป็นหลักฐานในการสอบสวนความผิดอาญา รวมทั้งบันทึกคำร้องทุกข์และคำกล่าวโทษด้วย
(๒๑) ควบคุมหมายความถึงการคุมหรือกักขังผู้ถูกจับโดยพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในระหว่างสืบสวนและสอบสวน
(๒๒) ขังหมายความถึงการกักขังจำเลยหรือผู้ต้องหาโดยศาล

มาตรา ๓  บุคคลดังระบุในมาตรา ๔, ๕ และ ๖ มีอำนาจจัดการต่อไปนี้แทนผู้เสียหายตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ
(๑) ร้องทุกข์
(๒) เป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา หรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
(๓) เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
(๔) ถอนฟ้องคดีอาญาหรือคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
(๕) ยอมความในคดีความผิดต่อส่วนตัว

มาตรา ๔  ในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายเป็นหญิงมีสามี หญิงนั้นมีสิทธิฟ้องคดีได้เองโดยมิต้องได้รับอนุญาตของสามีก่อน

ภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๕ (๒) สามีมีสิทธิฟ้องคดีอาญาแทนภริยาได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตโดยชัดแจ้งจากภริยา

มาตรา ๕  บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้
(๑) ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซึ่งได้กระทำต่อผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล
(๒) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาเฉพาะแต่ในความผิดอาญา ซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้
(๓) ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคล เฉพาะความผิดซึ่งกระทำลงแก่นิติบุคคลนั้น

มาตรา ๖ ในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือเป็นผู้วิกลจริตหรือคนไร้ความสามารถไม่มีผู้อนุบาล หรือซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลไม่สามารถจะทำการตามหน้าที่โดยเหตุหนึ่งเหตุใด รวมทั้งมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เยาว์หรือคนไร้ความสามารถนั้น ๆ ญาติของผู้นั้น หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องอาจร้องต่อศาลขอให้ตั้งเขาเป็นผู้แทนเฉพาะคดีได้

เมื่อได้ไต่สวนแล้วให้ศาลตั้งผู้ร้องหรือบุคคลอื่น ซึ่งยินยอมตามที่เห็นสมควรเป็นผู้แทนเฉพาะคดี เมื่อไม่มีบุคคลใดเป็นผู้แทนให้ศาลตั้งพนักงานฝ่ายปกครองเป็นผู้แทน

ห้ามมิให้เรียกค่าธรรมเนียมในเรื่องขอตั้งเป็นผู้แทนเฉพาะคดี

มาตรา ๗  ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณี

ถ้าผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก จะออกหมายจับผู้นั้นมาก็ได้ แต่ห้ามมิให้ใช้บทบัญญัติว่าด้วยปล่อยชั่วคราว ขังหรือจำคุกแก่ผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคล ในคดีที่นิติบุคคลนั้นเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย

มาตรา ๗/๑  ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมหรือขังมีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรกและให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว
(๒) ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวน
(๓) ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร
(๔) ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย

ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งรับมอบตัวผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีหน้าที่แจ้งให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหานั้นทราบในโอกาสแรกถึงสิทธิตามวรรคหนึ่ง

มาตรา ๘  นับแต่เวลาที่ยื่นฟ้องแล้ว จำเลยมีสิทธิดังต่อไปนี้
(๑) ได้รับการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม
(๒) แต่งทนายความแก้ต่างในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณาในศาลชั้นต้นตลอดจนชั้นศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา
(๓) ปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว
(๔) ตรวจดูสิ่งที่ยื่นเป็นพยานหลักฐาน และคัดสำเนาหรือถ่ายรูปสิ่งนั้น ๆ
(๕) ตรวจดูสำนวนการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาของศาล และคัดสำเนาหรือขอรับสำเนาที่รับรองว่าถูกต้องโดยเสียค่าธรรมเนียม เว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมนั้น
(๖) ตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตน

ถ้าจำเลยมีทนายความ ทนายความนั้นย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับจำเลยดังกล่าวมาแล้วด้วย

เมื่อพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ให้ผู้เสียหายมีสิทธิตามวรรคหนึ่ง (๖) เช่นเดียวกับจำเลยด้วย
มาตรา ๙  บันทึกต้องระบุสถานที่ วันเดือนปีที่ทำ นาม และตำแหน่งของเจ้าพนักงานผู้ทำ

เมื่อเจ้าพนักงานทำบันทึกโดยรับคำสั่งจากศาลหรือโดยคำสั่งหรือคำขอของเจ้าพนักงานอื่น ให้เจ้าพนักงานนั้นกล่าวไว้ด้วยว่าได้รับคำสั่งหรือคำขอเช่นนั้น และแสดงด้วยว่าได้ทำไปอย่างใด

ให้เจ้าพนักงานผู้ทำบันทึกลงลายมือชื่อของตนในบันทึกนั้น

มาตรา ๑๐  ถ้อยคำสำนวนต้องระบุชื่อศาล สถานที่ และวันเดือนปีที่จด ถ้าศาลจดถ้อยคำสำนวนตามคำสั่งหรือประเด็นของศาลอื่น ให้กล่าวเช่นนั้น และแสดงด้วยว่าได้ทำไปอย่างใด

ผู้พิพากษาที่จดถ้อยคำสำนวนต้องลงลายมือชื่อของตนในถ้อยคำสำนวนนั้น

มาตรา ๑๑  บันทึกหรือถ้อยคำสำนวนนั้นให้เจ้าพนักงานหรือศาลอ่านให้ผู้ให้ถ้อยคำฟัง ถ้ามีข้อความแก้ไข ทักท้วง หรือเพิ่มเติม ให้แก้ให้ถูกต้องหรือมิฉะนั้นก็ให้บันทึกไว้ และให้ผู้ให้ถ้อยคำลงลายมือชื่อรับรองว่าถูกต้องแล้ว

ถ้าบุคคลที่ต้องลงลายมือชื่อในบันทึกหรือถ้อยคำสำนวนไม่สามารถหรือไม่ยอมลง ให้บันทึกหรือรายงานเหตุนั้นไว้

มาตรา ๑๒  เอกสารซึ่งศาลหรือเจ้าพนักงานเป็นผู้ทำคำร้องทุกข์ คำกล่าวโทษคำให้การจำเลยหรือคำร้องซึ่งยื่นต่อเจ้าพนักงานหรือศาล จักต้องเขียนด้วยน้ำหมึกหรือพิมพ์ดีดหรือพิมพ์ ถ้ามีผิดที่ใดห้ามมิให้ลบออก ให้เพียงแต่ขีดฆ่าคำผิดนั้นแล้วเขียนใหม่ ผู้พิพากษา เจ้าพนักงานหรือบุคคลผู้แก้ไขเช่นนั้นต้องลงนามย่อรับรองไว้ที่ข้างกระดาษ

ถ้อยคำตกเติมในเอกสารดังบรรยายในมาตรานี้ต้องลงนามย่อของผู้พิพากษา เจ้าพนักงานหรือบุคคลผู้ซึ่งตกเติมนั้นกำกับไว้

มาตรา ๑๒ ทวิ  ในการร้องทุกข์ การสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง และการพิจารณา ถ้าบทบัญญัติใดกำหนดให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์เข้าร่วมด้วยแล้วนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ให้นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ตามวรรคหนึ่งได้รับค่าตอบแทนตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง

มาตรา ๑๓ การสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา ให้ใช้ภาษาไทย แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องแปลภาษาไทยท้องถิ่นหรือภาษาถิ่นหรือภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยหรือต้องแปลภาษาไทยเป็นภาษาไทยท้องถิ่นหรือภาษาถิ่นหรือภาษาต่างประเทศให้ใช้ล่ามแปล

ในกรณีที่ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย หรือพยานไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทย หรือสามารถพูดหรือเข้าใจเฉพาะภาษาไทยท้องถิ่นหรือภาษาถิ่น และไม่มีล่าม ให้พนักงานสอบสวนพนักงานอัยการหรือศาลจัดหาล่ามให้โดยมิชักช้า

ในกรณีที่ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย หรือพยานไม่สามารถพูดหรือได้ยิน หรือสื่อความหมายได้ และไม่มีล่ามภาษามือ ให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาล จัดหาล่ามภาษามือให้หรือจัดให้ถาม ตอบ หรือสื่อความหมายโดยวิธีอื่นที่เห็นสมควร

เมื่อมีล่ามแปลคำให้การ คำพยานหรืออื่น ๆ ล่ามต้องแปลให้ถูกต้อง ล่ามต้องสาบานหรือปฏิญาณตนว่าจะทำหน้าที่โดยสุจริตใจ จะไม่เพิ่มเติมหรือตัดทอนสิ่งที่แปล

ให้ล่ามลงลายมือชื่อในคำแปลนั้น

ให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาลสั่งจ่ายค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักแก่ล่ามที่จัดหาให้ตามมาตรานี้ ตามระเบียบที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด หรือสำนักงานศาลยุติธรรม แล้วแต่กรณี กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง

มาตรา ๑๓ ทวิ[๙]  (ยกเลิก)

มาตรา ๑๔  ในระหว่างทำการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ถ้ามีเหตุควรเชื่อว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้พนักงานสอบสวนหรือศาลแล้วแต่กรณี สั่งให้พนักงานแพทย์ตรวจผู้นั้นเสร็จแล้วให้เรียกพนักงานแพทย์ผู้นั้นมาให้ถ้อยคำหรือให้การว่าตรวจได้ผลประการใด

ในกรณีที่พนักงานสอบสวนหรือศาลเห็นว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้งดการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาไว้จนกว่าผู้นั้นหายวิกลจริตหรือสามารถจะต่อสู้คดีได้ และให้มีอำนาจส่งตัวผู้นั้นไปยังโรงพยาบาลโรคจิตหรือมอบให้แก่ผู้อนุบาล ข้าหลวงประจำจังหวัดหรือผู้อื่นที่เต็มใจรับไปดูแลรักษาก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควร

กรณีที่ศาลงดการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาดังบัญญัติไว้ในวรรคก่อน ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีเสียชั่วคราวก็ได้

มาตรา ๑๕  วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2437/2560
โจทก์ร่วมมีมติให้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองในความผิดฐานยักยอกเงิน 3,686,160 บาท ของโจทก์ร่วม เป็นการแสดงเจตนาของโจทก์ร่วมโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ร่วมได้กล่าวหาต่อพนักงานสอบสวนโดยมีเจตนาให้จำเลยทั้งสองได้รับโทษในความผิดฐานยักยอกเงิน 3,686,160 บาท ซึ่งรวมเงิน 502,190 บาท ที่เป็นเงินของเดือนมกราคม 2556 ด้วย จึงเป็นคำร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) ส่วนการที่ประธานโจทก์ร่วมแจ้งต่อที่ประชุมว่าตรวจสอบพบจำเลยทั้งสองทุจริตยักยอกเงินนับจากเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม 2556 เป็นเงิน 3,686,160 บาท เป็นเพียงข้อมูลเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุที่ประธานแจ้งที่ประชุมไม่ครบถ้วนเท่านั้น เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐาน แม้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดเป็นเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม 2556 โดยไม่ได้แจ้งถึงเดือนมกราคม 2556 ด้วยก็เป็นความคลาดเคลื่อนของพนักงานสอบสวนในการตรวจสอบและแจ้งข้อเท็จจริงแก่ผู้ต้องหา แต่หาได้มีผลเปลี่ยนแปลงเจตนาของโจทก์ร่วมที่ประสงค์ให้จำเลยทั้งสองได้รับโทษในความผิดฐานยักยอกไม่ การดำเนินการของโจทก์ร่วมเป็นการร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีจำเลยทั้งสองในข้อหายักยอกเงิน 502,190 บาท ประจำเดือนมกราคม 2556 โดยชอบแล้ว พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและโจทก์มีอำนาจฟ้องข้อหายักยอกเงิน 502,190 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2560
โจทก์มอบเงิน 300,000 บาท ให้แก่จำเลย เพราะจำเลยอ้างว่าจะนำไปให้เจ้าพนักงานตำรวจยศระดับพลตำรวจตรี 2 คน เพื่อช่วยเหลือให้บุตรสาวโจทก์สามารถสอบเข้ารับราชการตำรวจได้ ซึ่งโจทก์ย่อมจะต้องทราบดีว่าบุตรสาวโจทก์จะเข้ารับราชการตำรวจได้ต้องผ่านการสอบคัดเลือก โดยการสอบคัดเลือกเป็นระเบียบแบบแผนของทางราชการ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีคุณสมบัติสามารถสมัครสอบได้โดยเสรีและที่สำคัญการจัดการสอบจะต้องยุติธรรมเพื่อที่ทางราชการจะได้คนมีความสามารถ อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน หากมีการช่วยเหลือบุคคลใดบุคคลหนึ่งให้สามารถสอบผ่านแสดงว่ามีการกระทำอันเป็นการทุจริต เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2559
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงจะขายที่ดินให้แก่โจทก์และโจทก์ได้ชำระเงินค่าที่ดินบางส่วนแล้ว โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยินยอมให้โจทก์ยึดถือโฉนดที่ดินไว้เป็นหลักประกัน โจทก์ในฐานะผู้จะซื้อย่อมมีสิทธิที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 รับชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือและให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินให้แก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจและแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดข้อความอันเป็นเท็จในคำขอออกใบแทนโฉนดที่ดินว่าต้นฉบับโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 1 สูญหาย จนกระทั่งเจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นการกระทบต่อสิทธิของโจทก์ในการที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินที่โจทก์ยึดถือไว้เป็นหลักประกันตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน อีกทั้งหากจำเลยที่ 1 นำใบแทนโฉนดที่ดินดังกล่าวไปจดทะเบียนนิติกรรมกับบุคคลภายนอก โจทก์ก็อาจไม่สามารถบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้ ดังนั้น แม้การกระทำผิดของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานและรัฐเป็นผู้เสียหายก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษจากการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4554/2559
บริษัทมหาชนจำกัดเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น และมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย จึงเป็นเจ้าของเงินที่ให้กู้ยืมไป เมื่อมีผู้เบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าว ย่อมเป็นผู้เสียหายโดยตรงตาม ป.วิ.อ.

การพิจารณาความผิดอาญาตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ย่อมกระทำโดยการพิจารณาและสืบพยานในศาล ไม่ต้องผ่านการตรวจสอบโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ก่อน

ความรับผิดทางอาญาคือโทษ ผู้กระทำความผิดย่อมได้รับเองเป็นรายบุคคลเฉพาะตัว แม้ตัวการถึงแก่ความตาย ผู้ช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่ตัวการยังต้องรับผิดในการกระทำดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10672/2559
แม้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 73 จะบัญญัติว่า ในกรณีมีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินหรืออาคารที่อยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับอาคารที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นหรือบุคคลซึ่งความเป็นอยู่หรือการใช้สอยที่ดินหรืออาคารถูกกระทบกระเทือนเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าวเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา และศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ แต่การที่โจทก์ร่วมจะยื่นคำร้องขอบังคับให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองได้จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคหนึ่งและวรรคสาม กล่าวคือ การที่โจทก์ร่วมจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนได้ จะต้องเป็นคดีที่พนักงานอัยการฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดและเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมเท่านั้น โจทก์ร่วมไม่อาจไปยื่นคำร้องในคดีความผิดอื่นของจำเลยทั้งสองที่ไม่ได้เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายได้ ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองอาคารทำการรื้อถอนอาคารส่วนที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้ดำเนินการร่วมกันดัดแปลงขึ้นด้วยการต่อเติมอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10489/2559
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยและมีคำขอบังคับให้จำเลยออกไปจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงถือเป็นผู้เสียหายในคดี และถือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนคำขอส่วนแพ่งที่ขอให้จำเลยออกไปจากป่าสงวน กรมป่าไม้ย่อมสามารถที่จะทำการบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 50 แต่เนื่องจากคดีนี้เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทั้งในส่วนแพ่งและส่วนอาญา โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ เมื่อโจทก์ในฐานะคู่ความได้มีคำขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแล้ว และศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีระบุให้โจทก์หรือผู้แทนโจทก์เป็นผู้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปดำเนินการบังคับคดีตามกฎหมาย จึงเป็นการออกหมายบังคับคดีที่ชอบแล้ว ทั้งในหมายบังคับคดีก็ระบุให้โจทก์ตั้งผู้แทนโจทก์ไปดำเนินการบังคับคดีแทนได้ ในกรณีที่โจทก์ไม่ประสงค์จะไปดำเนินการบังคับคดีด้วยตนเอง แต่ก็ขึ้นอยู่กับโจทก์ว่าโจทก์เห็นควรตั้งบุคคลใดที่มีส่วนได้เสียกับการบังคับคดีแทนโจทก์ ซึ่งข้อเท็จจริงในส่วนนี้ โจทก์เป็นผู้ฟ้องคดีแทนย่อมทราบว่าควรให้บุคคลใดเป็นผู้แทนโจทก์ในการนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปดำเนินการเกี่ยวกับพื้นที่ที่จำเลยครอบครอง การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีดังกล่าว จึงสามารถดำเนินการบังคับคดีได้ตามกฎหมายไม่มีเหตุเพิกถอนหมายบังคับคดีดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7807/2559
ในคดีก่อนโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้เสียหายผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4), 5 (2) และ 44/1 ซึ่งถือเป็นคำฟ้องในคดีส่วนแพ่ง แต่ศาลพิพากษายกคำร้องโดยวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่พนักงานอัยการโจทก์บรรยายฟ้องคดีส่วนอาญาว่า ผู้ตายมีส่วนกระทำความผิดขับรถโดยประมาทด้วย ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์เป็นมารดาผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้อง ซึ่งเป็นการวินิจฉัยเรื่องอำนาจในการจัดการแทนผู้ตายของโจทก์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยศาลยังไม่ได้วินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดีตามประเด็นที่โจทก์ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องคดีส่วนแพ่ง จำเลยที่ 2 ไม่ได้ถูกฟ้องในคดีก่อน จึงไม่ได้เป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ จึงไม่ใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2559
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงจะขายที่ดินให้แก่โจทก์และโจทก์ได้ชำระเงินค่าที่ดินบางส่วนแล้ว โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยินยอมให้โจทก์ยึดถือโฉนดที่ดินไว้เป็นหลักประกัน โจทก์ในฐานะผู้จะซื้อย่อมมีสิทธิที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 รับชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือและให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินให้แก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจและแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดข้อความอันเป็นเท็จในคำขอออกใบแทนโฉนดที่ดินว่าต้นฉบับโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 1 สูญหาย จนกระทั่งเจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นการกระทบต่อสิทธิของโจทก์ในการที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินที่โจทก์ยึดถือไว้เป็นหลักประกันตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน อีกทั้งหากจำเลยที่ 1 นำใบแทนโฉนดที่ดินดังกล่าวไปจดทะเบียนนิติกรรมกับบุคคลภายนอก โจทก์ก็อาจไม่สามารถบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้ ดังนั้น แม้การกระทำผิดของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานและรัฐเป็นผู้เสียหายก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษจากการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6256/2559
พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 16 (1) ให้อำนาจอธิบดีโดยอนุมัติรัฐมนตรีอนุญาตให้โจทก์เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติเท่านั้น โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ป่าสงวนแห่งชาติที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัย ที่ดินดังกล่าวจึงยังไม่เป็นของโจทก์ แม้จำเลยจะเข้ายึดถือครอบครองก็ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการรบกวนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของโจทก์โดยตรง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 362

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5055/2559
เหตุคดีนี้เกิดจากการที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์แล่นแซงรถกระบะที่อยู่ด้านหน้าล้ำเข้าไปเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ของผู้ตายที่แล่นสวนทางมาในช่องเดินรถของผู้ตาย ซึ่งหากจำเลยไม่ขับรถจักรยานยนต์แล่นล้ำเข้าไปในช่องเดินรถของผู้ตายเหตุครั้งนี้ก็คงไม่เกิดขึ้น ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ผู้ตายขับรถโดยไม่ชิดขอบทางด้านซ้ายและขับรถมาด้วยความเร็ว ก็อาจเป็นเพียงการไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 เท่านั้น ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการกระทำความผิดของจำเลย ประการสำคัญขณะเกิดเหตุผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แล่นอยู่ในช่องเดินรถของตน การที่ผู้ตายขับรถโดยไม่ชิดขอบทางด้านซ้ายและขับรถมาด้วยความเร็วดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเหตุโดยตรงที่ทำให้รถจักรยานยนต์ของผู้ตายถูกรถจักรยานยนต์ของจำเลยเฉี่ยวชน แต่การที่รถจักรยานยนต์ของผู้ตายถูกรถจักรยานยนต์ของจำเลยเฉี่ยวชน และผู้ตายถึงแก่ความตายเป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยประมาทของจำเลย ผู้ตายหามีส่วนประมาทด้วยไม่ ผู้ตายจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาของผู้ตายย่อมมีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2559
แม้ข้อความที่จำเลยแจ้งจะเป็นความเท็จเพราะความจริงโฉนดที่ดินอยู่ที่ ภ. และจำเลยนำรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานที่เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จไปใช้อ้างเพื่อขอให้ออกใบแทนโฉนดที่ดินก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำต่อพันตำรวจโท บ.เจ้าพนักงาน ธ. และ พ. เจ้าพนักงานที่ดิน มิได้กล่าวพาดพิงไปถึง ภ. หรือนำรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานที่เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จไปใช้อ้างต่อ ภ. อันจะถือว่า ภ. ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลย อีกทั้งจำเลยมอบให้มารดานำโฉนดที่ดินทั้งสองฉบับไปเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินกับ ภ. เท่านั้น ซึ่ง ภ. ไม่มีสิทธิที่จะบังคับเอากับโฉนดที่ดินดังกล่าวได้ตามกฎหมาย ภ. จึงมิใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ และใช้หรืออ้างเอกสารราชการซึ่งแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ภ. เข้าร่วมเป็นโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อ ภ. มิใช่คู่ความในคดีจึงไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้ ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยอุทธรณ์ของ ภ. จึงเป็นการไม่ชอบเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14225/2558
จำเลยที่ 1 และ ป. ทำหนังสือสัญญาโอนหุ้นให้แก่โจทก์ร่วมทั้งสามในวันที่ 1 ตุลาคม 2547 เมื่อหุ้นดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 1 และ ป. โดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัทก็ทราบเรื่องดังกล่าวดีตั้งแต่วันนั้น ถือว่าบริษัททราบเรื่องการโอนหุ้นดังกล่าวแล้ว โจทก์ร่วมทั้งสามใช้ยันกับบริษัทได้ว่าเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทแล้ว แม้จะไม่ได้มีการจดแจ้งชื่อโจทก์ร่วมทั้งสามในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทก็ตาม และเป็นหน้าที่ของกรรมการบริษัทดังกล่าวที่จะต้องไปจดแจ้งชื่อโจทก์ร่วมทั้งสามในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น เมื่อบริษัทมีการเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นย่อมมีผลให้โจทก์ร่วมทั้งสามไม่ได้รับแจ้งให้เข้าร่วมประชุมด้วย และที่ประชุมก็มีมติให้แก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการแบ่งประเภทของหุ้น และกำหนดคุณสมบัติผู้ที่จะเข้ามาเป็นผู้บริหารเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จึงทำให้โจทก์ร่วมทั้งสามเสียหายเนื่องจากไม่สามารถคัดค้านเกี่ยวกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของบริษัทดังกล่าวได้ โจทก์ร่วมทั้งสามย่อมเป็นผู้เสียหายโดยตรงในกรณีนี้ที่จะแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นกรรมการบริษัทดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6341/2559
แม้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์คือ อ. และ ช. ลงลายมือชื่อเพียงสองคน แต่ตามบันทึกต่อท้ายคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ช. รองประธานศาลอุทธรณ์ทำการแทนประธานศาลอุทธรณ์ได้รับรองว่า ค. ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อีกคนหนึ่งได้ร่วมปรึกษาและมีความเห็นพ้องกัน ดังได้ลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาแล้ว กับได้บันทึกจดแจ้งเหตุที่ ค. ไม่สามารถลงลายมือชื่อในคำพิพากษาได้เนื่องจากย้ายไปดำรงตำแหน่งอื่นก่อนที่จะลงลายมือชื่อในคำพิพากษานั้น เมื่อองค์คณะผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ทั้งสามคนลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาย่อมแสดงชัดแจ้งแล้วว่าองค์คณะดังกล่าวมีความเห็นพ้องด้วยกันกับคำพิพากษานั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 และมิใช่กรณีมีเหตุจำเป็นอื่นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ในระหว่างการนั่งพิจารณา หรือการทำคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 28 และมาตรา 29 ที่รองประธานศาลอุทธรณ์กระทำการแทนประธานศาลอุทธรณ์จะต้องตรวจสำนวนและลงลายมือชื่อร่วมเป็นองค์คณะในคำพิพากษาไม่ เนื่องจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้มีการพิจารณาและพิพากษาไปจนเสร็จสิ้นสำนวนความแล้ว การบันทึกต่อท้ายคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นเพียงการจดแจ้งเหตุที่องค์คณะผู้พิพากษาไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ หาใช่เป็นกรณีที่รองประธานศาลอุทธรณ์จะต้องเข้าร่วมเป็นองค์คณะในการทำคำพิพากษาอีกแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13105/2558
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้บัญญัติถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไว้โดยเฉพาะ และ ป.วิ.พ. มาตรา 144 ได้บัญญัติรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้ว่า เมื่อศาลใดมีคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้นอีก ซึ่งเป็นหลักการตรวจสอบทำนองเดียวกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงนำเรื่องห้ามดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 มาใช้บังคับในการดำเนินคดีอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 ได้โดยอนุโลม

โจทก์ร่วมเคยฟ้องจำเลยเรื่องบุกรุกที่เกิดเหตุสถานที่เดียวกันกับคดีนี้ และศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ที่เกิดเหตุอยู่ในเขตที่ดินพระราชทาน หากคดีนี้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาคดีไปตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ว่า มีพยานหลักฐานใหม่มาพิสูจน์ได้ว่าที่เกิดเหตุคดีนี้อยู่นอกเขตที่ดินพระราชทาน ศาลก็ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่าที่เกิดเหตุอยู่ในเขตที่ดินพระราชทานหรือไม่ อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่เกิดเหตุอยู่ในเขตที่ดินพระราชทานโดยอาศัย ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จึงชอบแล้ว


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10672/2559
แม้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 73 จะบัญญัติว่า ในกรณีมีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินหรืออาคารที่อยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับอาคารที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นหรือบุคคลซึ่งความเป็นอยู่หรือการใช้สอยที่ดินหรืออาคารถูกกระทบกระเทือนเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าวเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา และศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ แต่การที่โจทก์ร่วมจะยื่นคำร้องขอบังคับให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองได้จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคหนึ่งและวรรคสาม กล่าวคือ การที่โจทก์ร่วมจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนได้ จะต้องเป็นคดีที่พนักงานอัยการฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดและเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมเท่านั้น โจทก์ร่วมไม่อาจไปยื่นคำร้องในคดีความผิดอื่นของจำเลยทั้งสองที่ไม่ได้เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายได้ ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองอาคารทำการรื้อถอนอาคารส่วนที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้ดำเนินการร่วมกันดัดแปลงขึ้นด้วยการต่อเติมอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10489/2559
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยและมีคำขอบังคับให้จำเลยออกไปจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงถือเป็นผู้เสียหายในคดี และถือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนคำขอส่วนแพ่งที่ขอให้จำเลยออกไปจากป่าสงวน กรมป่าไม้ย่อมสามารถที่จะทำการบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 50 แต่เนื่องจากคดีนี้เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทั้งในส่วนแพ่งและส่วนอาญา โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ เมื่อโจทก์ในฐานะคู่ความได้มีคำขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแล้ว และศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีระบุให้โจทก์หรือผู้แทนโจทก์เป็นผู้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปดำเนินการบังคับคดีตามกฎหมาย จึงเป็นการออกหมายบังคับคดีที่ชอบแล้ว ทั้งในหมายบังคับคดีก็ระบุให้โจทก์ตั้งผู้แทนโจทก์ไปดำเนินการบังคับคดีแทนได้ ในกรณีที่โจทก์ไม่ประสงค์จะไปดำเนินการบังคับคดีด้วยตนเอง แต่ก็ขึ้นอยู่กับโจทก์ว่าโจทก์เห็นควรตั้งบุคคลใดที่มีส่วนได้เสียกับการบังคับคดีแทนโจทก์ ซึ่งข้อเท็จจริงในส่วนนี้ โจทก์เป็นผู้ฟ้องคดีแทนย่อมทราบว่าควรให้บุคคลใดเป็นผู้แทนโจทก์ในการนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปดำเนินการเกี่ยวกับพื้นที่ที่จำเลยครอบครอง การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีดังกล่าว จึงสามารถดำเนินการบังคับคดีได้ตามกฎหมายไม่มีเหตุเพิกถอนหมายบังคับคดีดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6256/2559
พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 16 (1) ให้อำนาจอธิบดีโดยอนุมัติรัฐมนตรีอนุญาตให้โจทก์เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติเท่านั้น โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ป่าสงวนแห่งชาติที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัย ที่ดินดังกล่าวจึงยังไม่เป็นของโจทก์ แม้จำเลยจะเข้ายึดถือครอบครองก็ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการรบกวนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของโจทก์โดยตรง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 362

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5055/2559
เหตุคดีนี้เกิดจากการที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์แล่นแซงรถกระบะที่อยู่ด้านหน้าล้ำเข้าไปเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ของผู้ตายที่แล่นสวนทางมาในช่องเดินรถของผู้ตาย ซึ่งหากจำเลยไม่ขับรถจักรยานยนต์แล่นล้ำเข้าไปในช่องเดินรถของผู้ตายเหตุครั้งนี้ก็คงไม่เกิดขึ้น ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ผู้ตายขับรถโดยไม่ชิดขอบทางด้านซ้ายและขับรถมาด้วยความเร็ว ก็อาจเป็นเพียงการไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 เท่านั้น ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการกระทำความผิดของจำเลย ประการสำคัญขณะเกิดเหตุผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แล่นอยู่ในช่องเดินรถของตน การที่ผู้ตายขับรถโดยไม่ชิดขอบทางด้านซ้ายและขับรถมาด้วยความเร็วดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเหตุโดยตรงที่ทำให้รถจักรยานยนต์ของผู้ตายถูกรถจักรยานยนต์ของจำเลยเฉี่ยวชน แต่การที่รถจักรยานยนต์ของผู้ตายถูกรถจักรยานยนต์ของจำเลยเฉี่ยวชน และผู้ตายถึงแก่ความตายเป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยประมาทของจำเลย ผู้ตายหามีส่วนประมาทด้วยไม่ ผู้ตายจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาของผู้ตายย่อมมีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14225/2558
จำเลยที่ 1 และ ป. ทำหนังสือสัญญาโอนหุ้นให้แก่โจทก์ร่วมทั้งสามในวันที่ 1 ตุลาคม 2547 เมื่อหุ้นดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 1 และ ป. โดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัทก็ทราบเรื่องดังกล่าวดีตั้งแต่วันนั้น ถือว่าบริษัททราบเรื่องการโอนหุ้นดังกล่าวแล้ว โจทก์ร่วมทั้งสามใช้ยันกับบริษัทได้ว่าเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทแล้ว แม้จะไม่ได้มีการจดแจ้งชื่อโจทก์ร่วมทั้งสามในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทก็ตาม และเป็นหน้าที่ของกรรมการบริษัทดังกล่าวที่จะต้องไปจดแจ้งชื่อโจทก์ร่วมทั้งสามในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น เมื่อบริษัทมีการเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นย่อมมีผลให้โจทก์ร่วมทั้งสามไม่ได้รับแจ้งให้เข้าร่วมประชุมด้วย และที่ประชุมก็มีมติให้แก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการแบ่งประเภทของหุ้น และกำหนดคุณสมบัติผู้ที่จะเข้ามาเป็นผู้บริหารเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จึงทำให้โจทก์ร่วมทั้งสามเสียหายเนื่องจากไม่สามารถคัดค้านเกี่ยวกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของบริษัทดังกล่าวได้ โจทก์ร่วมทั้งสามย่อมเป็นผู้เสียหายโดยตรงในกรณีนี้ที่จะแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นกรรมการบริษัทดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5883/2552
ส. ซึ่งเป็นลูกวงแชร์ประมูลแชร์ได้ จำเลยซึ่งเป็นนายวงแชร์ได้รับเช็คตามฟ้องจากลูกวงแชร์ที่ยังประมูลไม่ได้ เพื่อนำไปมอบให้แก่ ส. แต่จำเลยมิได้นำไปมอบให้ ส. กลับนำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินในบัญชีของตนเองและถอนเงินไป ดังนี้ จำเลยในฐานะนายวงแชร์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงการเล่นแชร์ว่า เมื่อจำเลยได้เช็คจากลูกวงแชร์แล้วจะต้องนำเช็คไปมอบให้ ส. ซึ่งประมูลแชร์ได้ การที่จำเลยรับเช็คตามฟ้องจึงเป็นการรับไว้แทน ส. เมื่อจำเลยนำเช็คไปเรียกเก็บเงินและถอนเงินออกจากบัญชี จึงเป็นการครอบครองเงินของ ส.แล้วเบียดบังเอาเงินนั้นไป ส. จึงเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานยักยอกเงินตามเช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4911/2551
ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่า โจทก์ร่วมเช่าที่ดินพิพาท โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท และไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย ไม่มีสิทธิเข้าเป็นโจทก์ร่วมและไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้น ต้นที่ให้ยกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4005/2551
การ ที่จำเลยหลอกลวงโจทก์ร่วมโดยกล่าวเท็จชักชวนโจทก์ร่วมให้นำเงินไปซื้อเบี้ย เลี้ยงทหารล่วงหน้ารายละ 2,000 บาท จากยอดเบี้ยเลี้ยงทหารที่สามารถเบิกจ่ายได้จริงรายละ 2,600 บาท ซึ่งความจริงจำเลยไม่สามารถนำเงินไปซื้อเบี้ยเลี้ยงทหารและมิได้มีส่วน เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงแต่อย่างใด เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อตกลงซื้อเบี้ยเลี้ยงทหารรวม 118 ราย และมอบเงินรวม 236,000 บาท ให้แก่จำเลยไป การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341

เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อห้ามการซื้อขายเบี้ยเลี้ยงทหาร ดังนั้น การซื้อขายเบี้ยเลี้ยงทหารที่จำเลยหลอกโจทก์ร่วมจึงไม่ใช่กิจการที่มีวัตถุ ประสงค์เป็นการต้องห้ามแต่เป็นเพียงข้ออ้างของจำเลยเพื่อจูงใจให้โจทก์ร่วม หลงเชื่อและยินยอมมอบเงินให้จำเลย ซึ่งโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2551
กรม ตำรวจได้จัดสร้างพระพุทธโสธร รุ่นประวัติศาสตร์ กรมตำรวจ 80 ปี เพื่อจำหน่ายนำรายได้มาส่งเสริมสวัสดิการให้แก่ข้าราชการตำรวจและสมทบเป็น กองทุนเพื่อพัฒนาสถานีตำรวจทั่วประเทศ โดยมีการออกคำสั่งวางแนวปฏิบัติในการรับเงินจากการจำหน่ายและนำเงินเข้า บัญชี ซึ่งตามบันทึกข้อความเรื่องวิธีปฏิบัติและควบคุมการรับเงินบริจาคในการสร้าง พระพุทธโสธร รุ่นประวัติศาสตร์ กรมตำรวจ 80 ปี ระบุให้หน่วยที่รับผิดชอบใบสั่งจองและรับเงินบริจาค จัดเจ้าหน้าที่รับเงินบริจาคและจัดทะเบียนคุมการรับเงินบริจาคและทะเบียนคุม การสั่งจองพระ ซึ่งเจ้าหน้าที่ควบคุมเป็นสารวัตรการเงินของหน่วย ฯลฯ เมื่อรับเงินบริจาคแล้วให้นำเงินฝาก ธนาคาร ท. ตามชื่อบัญชีและเลขที่บัญชีที่กำหนดไว้ ดังนี้ เมื่อจำเลยดำรงตำแหน่งสารวัตรการเงินของหน่วย จึงมีหน้าที่รับเงิน แล้วนำฝากเข้าบัญชีธนาคาร ซึ่งเงินที่จำเลยรับไว้ย่อมถือได้ว่าเป็นการรับไว้แทนกรมตำรวจ สิทธิในเงินรับบริจาคย่อมตกแก่กรมตำรวจแล้วตั้งแต่เวลาที่จำเลยได้รับเงิน ไว้ หาใช่เงินของเจ้าพนักงานตำรวจแปดนายดังที่โจทก์ฟ้องไม่ เจ้าพนักงานตำรวจทั้งแปดนายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายในเงินดังกล่าว ย่อมไม่มีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหายักยอก ทรัพย์โจทก์จึงไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2551
จำเลย เป็นนายอำเภอสองพี่น้องมีหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การ บริหารส่วนตำบลบางตาเถรให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของทางราชการ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรีที่มีคำสั่ง ให้ดำเนินการสอบสวนคุณสมบัติของ ก. ซึ่งเป็นประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลดังกล่าว และมิได้ดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งแก่ ก. ที่ได้ทำการแก้ไขและสอดแทรกโครงการในร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2543 ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรโดยไม่มีอำนาจเป็นการกระทำความผิดต่อ ตำแหน่งหน้าที่ราชการอันเป็นผลเสียหายแก่รัฐ มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ ซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรโดยตรง โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหาย
องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรเป็นผู้เสียหายโดยตรงและผู้ที่จะดำเนินคดี อาญาแทนองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรเพื่อเอาผิดแก่ ก. ก็คือ ก. แต่ ก. ไม่ยอมดำเนินคดีแก่ตนเอง แต่โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรจะมีอำนาจฟ้อง ก. แทนองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรได้หรือไม่ เป็นคนละเรื่องกับการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลย จึงไม่ทำให้โจทก์กลายเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7671/2550
จำเลย เป็นผู้จัดการสาขาของบริษัทโจทก์ร่วม การที่จำเลยรับเงินจาก บ. ผู้ค้ำประกันการทำงานของ น. พนักงานโจทก์ร่วมที่ยักยอกเงินของโจทก์ร่วมไปแล้ว จำเลยได้ทำสัญญาในฐานะผู้จัดการของโจทก์ร่วม มีสาระสำคัญว่า บ. ได้ชำระเงินให้โจทก์ร่วม และโจทก์ร่วมถือว่า บ. ได้ปฏิบัติตามสัญญาค้ำประกันครบถ้วน ไม่ติดใจดำเนินคดีแพ่งหรือคดีอาญากับ บ. อีกต่อไป เงินที่จำเลยรับไว้จาก บ. จึงเป็นของโจทก์ร่วม เพราะโจทก์ร่วมต้องรับผลในการกระทำของจำเลยในอันที่จะไปเรียก บ. ชำระเงินอีกไม่ได้ เนื่องจาก บ. อาจนำสัญญาดังกล่าวมาแสดงว่าได้ชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมแล้ว การที่จำเลยไม่ได้แจ้งให้โจทก์ร่วมทราบ หรือไม่ได้รับอนุมัติจากผู้จัดการเขตของโจทก์ร่วมตามระเบียบที่โจทก์ร่วมวาง ไว้ จะนำมาอ้างว่ามิใช่ตัวแทนของโจทก์ร่วมหาได้ไม่ หากเป็นการผิดระเบียบก็เป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมต้องว่ากล่าวกับจำเลยและไม่ ผูกพัน บ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต การที่จำเลยรับเงินไว้แทนโจทก์ร่วมแล้วเบียดบังเป็นของจำเลยโดยทุจริต โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6056/2550
จำเลย ที่ 1 ขอร้องให้โจทก์ยอมรับสมอ้างว่าโจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยที่ 1 โดยบอกว่าจะไม่ทำให้โจทก์เดือดร้อนและจะสนับสนุนโจทก์ให้สอบเพื่อรับใบ อนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ โจทก์ไม่รับปาก ต่อมาจำเลยที่ 1 บอกว่าจำเลยที่ 2 ไม่ยอมกลับจะขอพบโจทก์ โจทก์จึงตัดสินใจยอมรับสมอ้างตามที่จำเลยที่ 1 ขอร้อง โจทก์ไปพบจำเลยที่ 2 แสดงตัวรับสมอ้างว่าโจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 2 ไปบอก นาง ฉ. มารดาสามีโจทก์และ นาย ก. สามีโจทก์ว่าโจทก์เป็นชู้กับจำเลยที่ 1 โจทก์และนาย ก. ไปหาจำเลยทั้งสองที่บ้าน จำเลยที่ 1 ยืนยันว่าเรื่องที่จำเลยที่ 2 พูดนั้นเป็นความจริง ถือได้ว่าโจทก์สมัครใจที่จะให้จำเลยที่ 1 พูดว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกัน โจทก์จึงมีส่วนสนับสนุนให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิด โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6026/2550
ในคดีอาญาของศาลชั้นต้น พนักงานอัยการประจำศาลชั้นต้นฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็น เหตุให้โจทก์ที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส ร. ซึ่งนั่งมาในรถยนต์คันเดียวกันกับโจทก์ที่ 1 ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 300, 390 โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์คันที่ถูกจำเลยขับชนไม่ใช่ผู้เสียหายในข้อหาความผิด ฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสหรือได้รับอันตราย แก่กายหรือจิตใจ ส่วนข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43, 157 รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย ดังนี้ โจทก์ที่ 2 เจ้าของรถยนต์คันที่ถูกชนจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาดังกล่าว และถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการประจำศาลชั้นต้นฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 2 ดังนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้ในส่วนของโจทก์ที่ 2 จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวกับคดีอาญาตามความหมายแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 51 ในอันที่จะนำอายุความในทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง แต่ต้องใช้อายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ที่ 2 รู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2546 อันเป็นวันทำละเมิด โจทก์สองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2548 ฉะนั้น นับแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2546 ถึงวันที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ จึงล่วงพ้นกำหนด 1 ปี คดีสำหรับโจทก์ที่ 2 จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5855/2550
คำ ว่า "ผู้เสียหาย" ในความผิดฐานลักทรัพย์ไม่จำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ถูกลักไป บุคคลที่เป็นผู้ครอบครองทรัพย์ที่ถูกลักไปก็เป็นผู้เสียหายได้ คดีนี้ได้ความว่าจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วมได้ร่วมกันลัก อาหารสัตว์ส่วนหนึ่งในระหว่างทางที่โจทก์ร่วมขนส่งเพื่อส่งมอบให้แก่บริษัท ซ. ผู้ซื้อ ระหว่างการขนส่งอาหารสัตว์ที่บรรทุกในรถยนต์คันเกิดเหตุ อาหารสัตว์เหล่านั้นจึงยังคงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมย่อมได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองเนื่องจากโจทก์ ร่วมมีหน้าที่จำต้องส่งมอบอาหารสัตว์ให้ครบจำนวนแก่บริษัท ซ. ผู้ซื้อ โจทก์ร่วมจึงมีฐานะเป็นผู้เสียหายในเหตุคดีนี้อยู่ด้วย ไม่ว่ากรรมสิทธิ์ในอาหารสัตว์ที่โจทก์ร่วมตกลงขายได้โอนไปยังบริษัท ซ. เพราะมีการชั่งน้ำหนักอันเป็นการบ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง ตั้งแต่ต้นทางการขนส่งโดยผลของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 460 วรรคแรก แล้วหรือไม่ก็ตาม โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิเข้าดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้โดยชอบ แม้ขณะเกิดเหตุหากกรรมสิทธิ์ในอาหารสัตว์ดังกล่าวได้โอนไปยังบริษัท ซ. เสียก่อนแล้วโดยผลของกฎหมายอันเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาว่าจำเลย ทั้งสองลักทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ซ. ขณะอยู่ในความครอบครองโจทก์ร่วมผู้เป็นนายจ้างของจำเลยทั้งสองซึ่งแตกต่าง กับข้อเท็จจริงดั่งที่กล่าวในฟ้องซึ่งบรรยายว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ของโจทก์ร่วม กรณีก็เป็นข้อแตกต่างที่มิใช่ข้อสาระสำคัญและจำเลยทั้งสองมิได้หลงข้อต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) (11) วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 83 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2550
ส. และสามีมิได้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ และทางราชการมิได้ยึดทรัพย์สินของ ส. การที่ ส. มอบเงิน 305,000 บาท แก่จำเลย สืบเนื่องมาจากการหลอกลวงของจำเลยด้วยข้อความอันเป็นเท็จ มิใช่ ส. หรือสามีกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษแล้ว ส. มอบเงินแก่จำเลยเพื่อให้สินบนแก่เจ้าพนักงานเพื่อให้ ส. หรือสามีพ้นจากความผิด จึงถือไม่ได้ว่า ส. ได้ร่วมกับจำเลยนำสินบนไปให้แก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการอันมิชอบ ด้วยหน้าที่ ส. ย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย มีสิทธิที่จะร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยฐานฉ้อโกงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2550
ส. และสามีมิได้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ และทางราชการมิได้ยึดทรัพย์สินของ ส. การที่ ส. มอบเงิน 305,000 บาท แก่จำเลยสืบเนื่องมาจากการหลอกลวงของจำเลยด้วยข้อความอันเป็นเท็จ มิใช่ ส. หรือสามีกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษแล้ว ส. มอบเงินแก่จำเลยเพื่อให้สินบนแก่เจ้าพนักงานเพื่อให้ ส. หรือสามีพ้นจากความผิด จึงถือไม่ได้ว่า ส. ได้ร่วมกับจำเลยนำสินบนไปให้แก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการอันมิชอบ ด้วยหน้าที่ ส. ย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย มีสิทธิที่จะร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยฐานฉ้อโกงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2550
ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก บัญญัติให้ผู้กระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนนั้น มีความผิดโดยไม่คำนึงว่าเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม แต่หากเด็กหญิงนั้นยินยอม ก็มิได้หมายความว่าเด็กหญิงนั้นมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย เมื่อเด็กหญิงทั้งสามถูกกระทำชำเรา แม้เด็กหญิงทั้งสามจะยินยอมก็เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการ กระทำความผิดข้อหานี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมมีอำนาจจัดการแทนเด็กหญิงทั้งสามตามป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) และมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดข้อหานี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4132/2550
ส. ซื้อที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นที่ดินของรัฐสภา ท. ส. จึงมิได้มีสิทธิครอบครองที่ดินที่ซื้อตามกฎหมาย และต่อมาได้มีการกำหนดให้ที่ดินในท้องที่ที่ดินพิพาทเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 26 (4) กำหนดว่า เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขต ป่าสงวนแห่งชาติส่วนใดแล้ว เมื่อ ส.ป.ก. จะนำที่ดินแปลงใดในส่วนนั้นไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตปฏิรูปที่ดินมีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในที่ดินแปลง นั้น และให้ ส.ป.ก. มีอำนาจนำที่ดินแปลงนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ และมาตรา 36 ทวิ กำหนดว่า บรรดาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ที่ ส.ป.ก. ได้มา ตาม พ.ร.บ. นี้หรือได้มาโดยประการอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมไม่ให้ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ และให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อให้ใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดังนี้ เมื่อที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ส. จะมีสิทธิเข้าครอบครองได้ก็แต่โดยการได้รับเอกสารสิทธิจาก ส.ป.ก. เมื่อ ส.ป.ก. ยังมิได้อนุญาตให้ ส. เป็นผู้มีสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จึงยังไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ทั้งหลังจาก ส. ยื่นคำขอเข้าทำประโยชน์แล้วมิได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ส. จึงยังไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอย่างใด โดย ส. เพียงแต่อ้างว่าได้ไถปรับที่ดินไว้ หลังจากนั้นอีกประมาณ 1 ปี จึงไปดูที่ดินพบว่าจำเลยเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว การที่ ส. เพียงแต่ไถปรับที่ดินทิ้งไว้โดยไม่ทำประโยชน์อะไรนานเป็นปี ถือไม่ได้ว่า ส. ได้ยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทเป็นของตนในขณะที่จำเลยเข้าไปทำประโยชน์ และที่ดินพิพาทยังคงเป็นของ ส.ป.ก. ส. จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยฐานบุกรุก ตามฟ้องซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2550
โจทก์ ร่วมที่ 1 มิใช่ผู้เสียหายในความผิดต่อ พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ซึ่งเป็นความผิดต่อรัฐ ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมที่ 1 ได้รับอันตรายแก่กายจากการกระทำความผิดของจำเลยแต่อย่างใด คงมีแต่โจทก์ร่วมที่ 2 เท่านั้น ที่ได้รับอันตรายสาหัส โจทก์ร่วมที่ 1 จึงมิใช่ผู้เสียหายในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 ด้วย จึงไม่อาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีนี้ได้ แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้ยกคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ของโจทก์ที่ 1 ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง เพราะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1786/2550
จำเลย กับพวกร่วมกันใช้เอกสารราชการปลอมแสดงต่อผู้เสียหายและหลอกลวงผู้เสียหาย ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่า ภ. เป็นเจ้าของรถยนต์ตามสมุดใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์จริง จนผู้เสียหายยอมรับจำนำและจ่ายเงินให้จำเลยไป ลักษณะการกระทำตามข้อเท็จจริงดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาใช้เอกสารราชการปลอมเพื่อฉ้อโกง ว. และ ว. ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิดของจำเลย จึงเป็นผู้เสียหาย แม้มีการทำสัญญาจำนำก็เป็นผลสืบเนื่องจากการหลอกลวงของจำเลยเพื่อให้ผู้เสีย หายส่งมอบเงินอันเป็นทรัพย์สินให้ ดังนั้น สัญญาจำนำจะมีผลสมบูรณ์หรือไม่ หาเป็นเหตุให้ ว. ซึ่งเป็นผู้เสียหายอยู่แล้วกลายเป็นมิใช่ผู้เสียหายไม่ ผู้เสียหายจึงมีอำนาจร้องทุกข์ การสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2549
ตาม หลักฐานบันทึกการรับเงินที่จำเลยได้ชดใช้ให้แก่ฝ่ายผู้เสียหายทั้งสี่ปรากฏ ว่าในส่วนของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 มีการลงชื่อโดยภริยาของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 แม้จะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็ไม่ใช่บุคคลผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 4, 5 และ 6 จึงไม่มีอำนาจยอมความแทนผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (5) บันทึกดังกล่าวไม่มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงที่จำเลย กระทำต่อผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ระงับไป คงมีผลเพียงให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปเฉพาะแต่ความผิดข้อหาฉ้อ โกงที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายบางส่วนให้แก่ฝ่ายผู้เสีย หายทั้งสี่แล้วก็ไม่ทำให้ความผิดฐานหลอกลวงผู้อื่นตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรี ระงับตามไปด้วยแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2549
โจทก์ ฟ้องคดีอาญาขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาบุกรุก แม้ปรากฏว่าโจทก์อยู่ในฐานะเป็นบุคคลล้มละลายที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาดไปแล้วก็ตาม แต่ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 (3) ที่กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้ คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น หมายถึง เฉพาะแต่การฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีแพ่งที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้เท่า นั้น ไม่รวมถึงการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีอาญาด้วย และการที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และพิพากษาให้ล้มละลายก็ไม่มี ฐานะถึงขนาดจะตกเป็นผู้ไร้ความสามารถอันจำต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้ อนุบาลเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) อีกทั้งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 4, 5 และ 6 มิได้มีบทมาตราใดกำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการแทนลูกหนี้ ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาที่ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วด้วย ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5162/2547
ว. บิดาโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงของจำเลยถึง แก่ความตายโดยไม่ได้ถูกทำร้ายถึงตายตามมาตรา 5 (2) โจทก์ในฐานะเป็นผู้สืบสันดานจึงไม่มีอำนาจจัดการแทน ว. ฟ้องจำเลยได้ เมื่อ ว. เพียงแต่ร้องทุกข์โดยยังไม่ได้ฟ้องคดี ย่อมไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 29 ที่โจทก์จะดำเนินคดีต่าง ว. ผู้ตายต่อไปได้ โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3954/2539
ประเทศไทยมีกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศจำเลยให้สัมภาษณ์และลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับกองทัพโดย มิได้ระบุเจาะจงว่าเป็น กองทัพใด ข้อความที่เกี่ยวกับอาวุธปืนใหญ่ก็มีไว้ใช้ในกองทัพใดก็ได้ส่วนการซื้อ เครื่องบิน รถถังและอาวุธต่าง ๆก็ไม่ได้หมายความถึงกองทัพบกโดยเฉพาะ และที่ว่าซื้อมาแล้วก็มากองที่สระบุรี ก็มีความหมายว่า ของที่กองทัพซื้อมาถูกทอดทิ้งไว้ที่จังหวัดสระบุรี ถึงแม้ในจังหวัดสระบุรีจะมีหน่วยงานกองทัพบกเท่านั้น ก็จะตีความหมายเลยไปถึงว่าเป็นกองทัพบกไม่ได้ ดังนั้น จะถือว่าจำเลยใส่ความหมิ่นประมาทกองทัพบกโดยเฉพาะหาได้ไม่ กองทัพบกจึงไม่เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 72/2535
โจทก์ ฟ้องว่าจำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมแถลงรับว่าเคยถูกโจทก์ฟ้องเป็นจำเลยในมูลคดีเกี่ยวกับคดีนี้ว่าทำ ร้ายร่างกายจำเลยทั้งสองคดีนี้และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษโจทก์ร่วม คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์คดีนี้วินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหายตาม กฎหมาย ไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ดังนี้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมยอมรับ ว่าวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันกับจำเลยในคดีนี้เมื่อยังไม่ได้ความว่า โจทก์ร่วมวิวาททำร้ายร่างกายกับจำเลย ประกอบกับคดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด จึงยังไม่สมควรด่วนวินิจฉัยว่า โจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหาย ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นนี้ เสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2551
โจทก์ บรรยายฟ้องว่าจำเลยเข้าไปในห้องนอนของผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาของผู้เสียหายที่ 1 ขณะผู้เสียหายที่ 2 กำลังนอนหลับอยู่ จำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 อายุ 15 ปีเศษ ซึ่งมิใช่ภริยาจำเลย โดยใช้กำลังประทุษร้ายกอดปล้ำ ลูบคลำร่างกายของผู้เสียหายที่ 2 และพยายามถอดเสื้อผ้าของผู้เสียหายที่ 2 ที่สวมใส่อยู่ออก และใช้อาวุธปืนบังคับขู่เข็ญเพื่อจะข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 โดยผู้เสียหายที่ 2 อยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่าสิบห้าปีโดยใช้กำลัง ประทุษร้าย ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจ ข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนที่จำเลยจะกระทำอนาจารอย่างไรและบริเวณใดของร่างกายกับจำเลยลูบคลำร่าง กายผู้เสียหายที่ 2 อย่างไร เป็นเพียงรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) และมาตรา 123 มิได้บัญญัติว่า การร้องทุกข์ของผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบ ธรรมหรือบุคคลดังกล่าวต้องลงลายมือชื่อในการร้องทุกข์ของผู้เยาว์ด้วย ดังนั้น ผู้เยาว์จึงมีอำนาจร้องทุกข์ด้วยตนเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4826/2550
แม้ ในบันทึกประจำวันผู้รับมอบอำนาจผู้เสียหายจะแจ้งเฉพาะชื่อและที่อยู่ของตน รวมทั้งการที่ผู้เสียหายมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำการละเมิด ลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายในเขตพื้นที่ของสถานีตำรวจที่เกี่ยวข้อง แต่ผู้รับมอบอำนาจผู้เสียหายได้แจ้งด้วยวาจาเพิ่มเติมทางโทรศัพท์ถึงสถานที่ ที่ความผิดเกิด และเมื่อจับกุมผู้กระทำผิดได้แล้ว ผู้รับมอบอำนาจผู้เสียหายได้ให้การเพิ่มเติมเกี่ยวกับพฤติการณ์เกี่ยวกับการ กระทำความผิด ความเสียหายที่ได้รับ และชื่อผู้กระทำผิด ถือได้ว่าเป็นคำร้องทุกข์ตามกฎหมายที่มีรายละเอียดครบถ้วนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) ประกอบด้วยมาตรา 123 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2550
ส. และสามีมิได้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ และทางราชการมิได้ยึดทรัพย์สินของ ส. การที่ ส. มอบเงิน 305,000 บาท แก่จำเลยสืบเนื่องมาจากการหลอกลวงของจำเลยด้วยข้อความอันเป็นเท็จ มิใช่ ส. หรือสามีกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษแล้ว ส. มอบเงินแก่จำเลยเพื่อให้สินบนแก่เจ้าพนักงานเพื่อให้ ส. หรือสามีพ้นจากความผิด จึงถือไม่ได้ว่า ส. ได้ร่วมกับจำเลยนำสินบนไปให้แก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการอันมิชอบ ด้วยหน้าที่ ส. ย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย มีสิทธิที่จะร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยฐานฉ้อโกงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7630/2549
โจทก์ เมาสุราจนครองสติไม่ได้ ประพฤติตนวุ่นวายในทางสาธารณะหรือสาธารณสถาน และโจทก์ได้ชำระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว ทำให้คดีอาญาที่โจทก์ถูกกล่าวหาเป็นอันเลิกกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37 (2) แต่เมื่อโจทก์กล่าวหาต่อจำเลยในฐานะพนักงานสอบสวนว่าจ่าสิบตำรวจ ป. ทำร้ายร่างกายโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายโดยมีเจตนาจะให้จ่าสิบตำรวจ ป. ได้รับโทษ จึงเป็นคำร้องทุกข์ตามมาตรา 2 (7) และเป็นการกระทำที่แยกต่างหากจากการกระทำที่โจทก์ถูกกล่าวหาดังกล่าว จำเลยในฐานะพนักงานสอบสวนมีหน้าที่ต้องรับคำร้องทุกข์ของโจทก์ไว้เพื่อ ดำเนินการสอบสวนตามอำนาจหน้าที่ต่อไป การที่จำเลยไม่รับคำร้องทุกข์ของโจทก์ในข้อหาทำร้ายร่างกาย อ้างเพียงว่าคดีเลิกกันแล้วโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ จึงเป็นการละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายมี ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6644/2549
ความ ผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 326 และ 328 เป็นความผิดอันยอมความได้ตาม ป.อ. มาตรา 333 พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง แต่ข้อความในรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐาน ระบุแต่เพียงว่าผู้เสียหายทั้งสามมาแจ้งความไว้เป็นหลักฐานเพื่อจะได้นำเสนอ ผู้บังคับบัญชาระดับสูงเพื่อพิจารณาต่อไป จึงมิใช่เป็นการมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามกฎหมาย ไม่เป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) เพราะขณะแจ้งยังมิได้มีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษการสอบสวนความผิด ฐานนี้ต่อมาภายหลังจึงเป็นการไม่ชอบ พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานความผิดดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4310/2549
ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าเป็นความผิดอันยอมความได้ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 66 พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ก็ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ แม้ในรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานระบุไว้ว่า "นาย ศ. อายุ 26 ปี... ได้รับมอบอำนาจจากบริษัท อาร์ เอส ให้แจ้งร้องทุกข์กล่าวโทษ ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์วีซีดีภาพยนตร์... เพื่อดำเนินคดีต่อไป" ก็ไม่ถือว่าเป็นคำร้องทุกข์ โดยถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) เพราะมิได้ชัดแจ้งว่าเป็นการแจ้งความโดยเจตนา จะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ เป็นเหตุให้การสอบสวนในความผิดฐานนี้ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2549
ตาม หนังสือมอบอำนาจช่วงที่ ค. มอบอำนาจช่วงให้ ท. มีอำนาจร้องทุกข์แทนมีข้อความว่า เพื่อให้มีอำนาจดำเนินการแทน "ผู้มอบอำนาจ" ซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบกับหนังสือมอบอำนาจที่ทำขึ้นระหว่างผู้เสียหายกับ ค. แล้ว ก็ระบุในหนังสือมอบอำนาจว่า ผู้เสียหายเป็น "ผู้มอบอำนาจ" และ ค. เป็น "ผู้รับมอบอำนาจ" ดังนั้น การพิจารณาว่าผู้เสียหายได้มอบอำนาจให้ร้องทุกข์โดยชอบหรือไม่ จึงต้องพิจารณาทั้งหนังสือมอบอำนาจและหนังสือมอบอำนาจช่วงประกอบกันมิใช่ พิจารณาเฉพาะหนังสือมอบอำนาจช่วงฉบับเดียว เมื่อ ท. แจ้งความร้องทุกข์แทนผู้เสียหาย มิใช่ร้องทุกข์แทน ค. เป็นการส่วนตัว การมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ของผู้เสียหายจึงชอบด้วยกฎมหาย และถือว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์แล้ว พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2549
จำเลย ทั้งสองกับพวกที่หลบหนีไปได้และผู้เสียหายได้ทำพิธีปลุกเสกเหรียญรัชกาลที่ 5 เพื่อให้ได้เลขสลากกินรวบ ต่อมาจำเลยทั้งสองกับพวกได้ขับรถยนต์กระบะมารับผู้เสียหายไปซื้อหวยใต้ดิน (สลากกินรวบ) โดยตกลงกันว่าจะไปซื้อหวยใต้ดินที่อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เมื่อเดินทางมาถึง ผู้เสียหายได้มอบเงินให้จำเลยที่ 2 เพื่อซื้อหวยใต้ดิน เหตุที่ผู้เสียหายไม่ซื้อหวยใต้ดินเองเพราะหมอไสยศาสตร์บอกว่าให้รวบรวมเงิน ฝากให้จำเลยที่ 2 ไปซื้อ เมื่อถูกหวยแล้วจะได้นำเงินไปทอดผ้าป่า หลังจากมอบเงินให้จำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 กับพวกก็หลบหนีไป พฤติการณ์ของผู้เสียหายดังกล่าวเป็นการร่วมกับจำเลยทั้งสองกับพวกเล่นการ พนันสลากกินรวบอันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายมีโทษทางอาญา ผู้เสียหายคดีนี้จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้ เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความ ผิดอันยอมความได้ พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนคดีนี้และพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจ ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2546
ผู้เสียหายสมัครใจที่นำเงินมาเพื่อร่วมกับจำเลยทั้งสองและ ว. เล่นการพนันกำถั่วเพื่อโกง ท. ตามที่บุคคลทั้งสามชักชวนผู้เสียหาย เพราะ ว. ได้แสดงการโกงพนันกำถั่วให้ผู้เสียหายดู ตลอดจนจำเลยที่ 2 ก็สอนวิธีการโกงพนันกำถั่วให้ผู้เสียหายดูจนผู้เสียหายแน่ใจว่าสามารถเล่น พนันกำถั่วโกง ท. ได้ ทั้งผู้เสียหายก็อยู่ในห้องเกิดเหตุตลอดเวลาที่เล่นการพนันกัน การที่ผู้เสียหายนำเงินมามอบให้จำเลยทั้งสองกับพวกเล่นการพนันกำถั่วเพื่อ โกง ท. จึงเชื่อได้ว่าผู้เสียหายสมัครใจเข้าร่วมเล่นการพนันโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย เป็นการร่วมกับจำเลยทั้งสองกระทำความผิด ผู้เสียหายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้เจ้า พนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2544
หนังสือ มอบอำนาจของโจทก์ร่วมมีข้อความแต่เพียงว่า โจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ ร. จัดการแจ้งความเรื่องเช็คคืน โดยไม่ได้ระบุให้ มีอำนาจ แจ้งความเพื่อดำเนินคดีแก่จำเลย จึงไม่ชัดแจ้งว่าโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นผู้เสียหายมีเจตนาที่จะให้จำเลยต้องรับโทษทั้งได้ความว่า เหตุที่แจ้งความร้องทุกข์ ก็เพราะไม่ต้องการให้เช็คขาดอายุความ จึงไม่เป็นคำร้องทุกข์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) เมื่อความผิดต่อ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 เป็นคดี ความผิดอันยอมความได้ แต่ไม่มีคำร้องทุกข์ย่อมห้ามมิให้พนักงานสอบสวน ทำการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 วรรคสองการสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจต้องถือว่า ไม่ได้มีการสอบสวนโดยชอบ พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4906/2543
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรกเป็นความผิดอันยอมความได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 281 พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121วรรคสอง แต่ปรากฏจากรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานและคำเบิกความของพนักงานสอบสวน ว่าผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ไว้ก่อนเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น มิได้มอบคดีแต่อย่างใด การรับแจ้งความเช่นนี้แม้จะมีคำว่าร้องทุกข์อยู่ด้วย ก็ไม่ถือว่าเป็นคำร้องทุกข์โดยถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) เพราะยังมิได้กระทำโดยเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ การสอบสวนความผิดฐานนี้จึงไม่ชอบพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิด ฐานนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2543
จำเลย แจ้งความต่อร้อยตำรวจโท อ. เพื่อเป็นหลักฐานหากจะมีข้อความบางส่วนเป็นเท็จหรือผิดความจริงไปบ้างก็ยัง ไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ร้อยตำรวจโท อ. ต้องทำการสอบสวนเนื่องจากไม่เป็นคำร้องทุกข์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(7) เมื่อจำเลยไม่มีเจตนาจะมอบเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์ การแจ้งความของจำเลยจึงย่อมไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นเหตุ ให้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีเพื่อเอาผิดต่อจำเลยในความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็น เท็จแก่เจ้าพนักงานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2541
ตาม หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ ผู้เสียหายระบุให้จ. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีทั้งทางอาญาและทางแพ่งต่อพนักงาน สอบสวนในเหตุความผิดทั้งหลายซึ่งได้มีผู้กระทำขึ้นและก่อให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้เสียหายย่อมเป็นการมอบอำนาจโดยชัดแจ้งให้ จ. ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2015/2547
พยานโจทก์ทุกปากไม่มีสาเหตุกับจำเลยที่ 1 ทั้งเบิกความและให้การได้สอดคล้องเชื่อมโยงกัน มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ แม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานที่รู้เห็นในขณะเกิดเหตุว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนร้ายที่ร่วมชิงทรัพย์และใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่ก่อนเกิดเหตุมีชาย 2 คน ซึ่งคล้ายจำเลยทั้งสองว่าจ้างผู้ตายขับรถยนต์รับจ้างออกไปจากโรงแรม ร. หลังจากนั้นไม่นานผู้ตายถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงถึงแก่ความตาย และทิ้งศพไว้ในที่เกิดเหตุ และต่อมาในวันเดียวกันจำเลยทั้งสองได้นำรถยนต์ของผู้ตายไปใช้เป็นยานพาหนะใน การชิงทรัพย์ร้านทอง ทั้งในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพว่าได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ว่าจ้างผู้ตายให้ขับรถยนต์รับจ้างจากกรุงเทพมหานครไปส่งที่จังหวัดสระบุรี เมื่อไปถึงก็ได้ร่วมกันชิงทรัพย์รถยนต์คันดังกล่าวและฆ่าผู้ตาย เพียงแต่จำเลยที่ 1 บ่ายเบี่ยงว่าจำเลยที่ 2 เป็นคนใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายเท่านั้น บ่งชี้ชัดว่า จำเลยที่ 1 ร่วมเป็นคนร้ายรายนี้จริง ที่จำเลยที่ 1 นำสืบต่อสู้ว่าไม่เคยไปพักที่โรงแรม ร. กับได้ลงลายมือชื่อในบันทึกการจับกุมและบันทึกคำให้การโดยไม่ได้อ่านข้อความ เนื่องจากถูกเจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายนั้น เมื่อพิจารณาคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ตามบันทึกคำให้การแล้ว ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ให้การกล่าวถึงการกระทำโดยละเอียดและยังนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ ตามบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ ข้อนำสืบของจำเลยที่ 1 จึงไม่น่าเชื่อ พยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 ไม่สามารถหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ ข้อเท็จจริงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยที่ 1 เป็นคนร้ายร่วมกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์และฆ่าผู้ตายตามฟ้อง ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จากบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 พนักงานสอบสวนไม่ได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 7 ทวิ วรรคสอง โดยการแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบถึงสิทธิของผู้ต้องหาตามวรรคหนึ่ง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการสอบสวนที่ชอบ ไม่ควรรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้นั้น เห็นว่า การแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับให้ต้องระบุไว้ใน บันทึกคำให้การชั้นสอบสวน ทั้งจำเลยที่ 1 เพิ่งยกเรื่องการไม่แจ้งสิทธิดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกาโดยใน ชั้นพิจารณาจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบว่าพนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งสิทธิของผู้ต้องหาให้จำเลยที่ 1 ทราบ อันจะเป็นเหตุให้การสอบสวนไม่ชอบและไม่อาจรับฟังบันทึกคำให้การชั้นสอบสวน ของจำเลยที่ 1 เป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2541
ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7 วรรคหนึ่งบัญญัติให้ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆของนิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณีคำว่า ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของนิติบุคคลตามบทบัญญัติดังกล่าวนั้นย่อมหมายถึง ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นตามกฎหมายเช่น กรรมการผู้จัดการของบริษัท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2533
กรณี ที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไม่มีการจับกุมนิติบุคคลนั้น เพราะนิติบุคคลไม่อยู่ในสภาพที่จะให้จับกุมได้คงให้ใช้ วิธีออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลมาเพื่อสอบสวนหรือพิจารณา แล้วแต่กรณี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7 การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนออกหมายเรียกผู้จัดการบริษัทจำเลยให้ไป พบแล้วแจ้งข้อหาว่าบริษัทจำเลยกระทำความผิดนั้น ไม่เป็นการจับกุมผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้ รับรางวัลตาม พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 78

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2532
โจทก์ ได้ บรรยายฟ้องแจ้งชัดว่าจำเลยออกเช็ค 2 ฉบับ เมื่อปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามเช็คแต่ละฉบับ ศาลย่อมลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ตามป.อ. มาตรา 91 แม้โจทก์ไม่ได้อ้างบทมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง ก็จะถือว่าศาลลงโทษเกินคำขอหาได้ไม่ ป.วิ.อ. มาตรา 158(6เพียงแต่ บัญญัติให้โจทก์อ้างมาตราในกฎหมายซึ่ง บัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดเท่านั้น โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่ง เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการร่วมกันออกเช็ค อันเป็นความผิดตามพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค จำเลยที่ 1 โดย ธ. และ ร. กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันจำเลยที่ 1 ได้ ตั้งทนายความก่อนมีการไต่สวนมูลฟ้อง ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาในคดีนี้แล้วนับตั้งแต่ วันที่ตั้ง ทนายความ เมื่อจำเลยที่ 3ในนามของจำเลยที่ 1 และในฐานะ ส่วนตัวให้การรับสารภาพโดยจำเลยที่ 3 กับทนายจำเลยผู้นั้นลงลายมือชื่อท้ายคำให้การและรายงานกระบวนพิจารณา การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2797/2529
การ ฟ้องคดีอาญาต่อห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคล จะต้องมีหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นผู้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัดจึงจะดำเนินคดี ได้ ถ้าหุ้นส่วนผู้จัดการไปต่างประเทศไม่อยู่ในขณะฟ้อง ต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่มีตัวอยู่อย่างสมบูรณ์ตามกฎหมาย และต้องถือว่าไม่มีตัวจำเลยมาศาลในวันฟ้อง ศาลรับฟ้องไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 165

ห้าง จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้ ร. มีอำนาจแทนในการติดต่อกับพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราช บัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ในกิจการเช่นสำรวจแร่ ทำเหมือง ฯลฯ และปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมแร่ พ.ศ.2514ดังนี้ ห้างจำเลยมิได้มอบอำนาจให้ ร.ดำเนินคดีแทนจำเลยทั้งการมอบอำนาจให้ร. เป็นเวลาภายหลังจากห้างจำเลยได้กระทำความผิดอาญาแล้ว พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ร. ในฐานะเป็นตัวแทนจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยการมอบอำนาจตามใบมอบอำนาจดังกล่าว การดำเนินคดีนี้ของ ร. จึงไม่ผูกพันห้างจำเลยและคำพิพากษาก็ไม่ผูกพันห้างจำเลย โจทก์จึงไม่อาจยึดทรัพย์ของห้างจำเลยมาชำระค่าปรับตามคำพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2535
ศาล ได้อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีเพราะเหตุทนายจำเลยป่วยและติดธุระมา 2 ครั้งแล้ว โดยได้กำชับให้จำเลยมีทนายความมาว่าความให้ได้ใน 2 นัด ที่เลื่อน และในนัดที่สามด้วย การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีในนัดที่สามโดยจำเลยได้ถาม ค้านพยานโจทก์ที่สืบในนัดนั้น และศาลชั้นต้นได้ซักถามพยานดังกล่าวไว้ด้วย ถือว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจในการดำเนินกระบวนพิจารณาเหมาะสมและชอบด้วย กฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2547
ใน ระหว่างที่ศาลอ่านบันทึกคำให้การให้พยานฟัง หากพยานจะขอแก้ไขคำเบิกความส่วนใดที่เห็นว่าไม่ถูกต้องย่อมเป็นสิทธิของพยาน ที่จะแถลงต่อศาล ถ้าคู่ความฝ่ายใดเน้นว่าการขอแก้ไขดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไรต้องแถลงโต้ แย้งไว้เพื่อศาลจะได้ใช้ดุลพินิจว่าคำเบิกความดังกล่าวว่าสมควรรับฟังได้ เพียงใด เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ ทั้งจำเลยและทนายจำเลยยังได้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องของข้อความใน บันทึกคำให้การพยานที่ศาลบันทึกไว้ ซึ่งต้องถือว่าจำเลยยอมรับการแก้ไขดังกล่าวและต้องฟังเป็นยุติว่าพยานเบิก ความไว้ตามที่บันทึกแก้ไขไว้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2535
พนักงาน สอบสวนทำการสอบปากคำผู้เสียหายที่ถูกจำเลยทั้งสามฉ้อโกงแตกต่างกับการสอบปาก คำในคดีทั่ว ๆ ไป เนื่องจากผู้เสียหายมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ผู้เสียหายต่างให้การถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นทำนอง เดียวกัน พนักงานสอบสวนจึงทำแบบพิมพ์ในส่วนที่เหมือนกันไว้ เว้นช่องว่างในส่วนที่เกี่ยวกับชื่อของผู้เสียหาย จำนวนเงินและวันเวลา ซึ่งเป็นส่วนรายละเอียดของผู้เสียหายแต่ละคนโดยเฉพาะไว้ เพื่อกรอกรายละเอียดในตอนสอบปากคำผู้เสียหายแต่ละคน เช่นนี้ หามีผลทำให้การสอบสวนเสียไปไม่ส่วนกรณีที่ผู้เสียหายมาให้ถ้อยคำหลายรายและ พนักงานสอบสวนแจกแบบพิมพ์คำให้การดังกล่าวให้แต่ละคนไปอ่านดูก่อนแล้วเรียก เข้ามากรอกข้อความทีละคน พนักงานสอบสวนก็ได้สอบถามผู้เสียหายผู้ให้ถ้อยคำว่า มีอะไรผิดบ้าง ถ้าไม่มีผิดก็ให้ลงชื่อ ถ้าผิดพลาดก็ขีดฆ่าแก้ไขและลงลายมือชื่อกำกับ เช่นนี้เมื่อไม่ปรากฏว่าคำให้การของผู้เสียหายไม่ตรงกับปากคำที่ให้การไว้ ต่อพนักงานสอบสวน หรือปากคำนั้นผู้เสียหายไม่ได้ให้การด้วยความสมัครใจหรือด้วยเหตุอันมิชอบ อย่างอื่น จะถือว่าการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7567/2544
การ ที่ศาลชั้นต้นจะต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา มาตรา 13 วรรคสองหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยหยิบยกขึ้นอ้างในชั้น ฎีกาได้ ตามมาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225

การที่ ร. ซึ่งเป็นทนายจำเลยทำหน้าที่เป็นล่ามให้จำเลยซึ่งไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษา ไทยได้ ไม่ได้สาบานตน หรือปฏิญาณตนว่าจะแปลถ้อยคำของจำเลยให้ถูกต้องและทำหน้าที่โดยสุจริตใจไม่ เพิ่มเติมหรือตัดทอนสิ่งที่แปล และ ร. มิได้ลงลายมือชื่อในคำแปลนั้นเลย การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา มาตรา 13 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1857/2543
ใน คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า"ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 ก่อนศาลมีคำพิพากษา ศาลได้อ่านและอธิบายฟ้องเป็นภาษาไทยให้จำเลยฟัง ซึ่งจำเลยเข้าใจภาษาไทยเป็นอย่างดี จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลจึงได้มีคำพิพากษาไปในวันนั้นด้วยเหตุนี้จึงไม่มีเหตุที่จะพิจารณาคดี ใหม่ตามคำร้อง ให้ยกคำร้อง"แสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์ คำให้การรับสารภาพของจำเลยกับเรื่องที่จำเลยไม่ต้องการทนายความจึงเป็นไปตาม ความประสงค์อันแท้จริงของจำเลย มิใช่เกิดจากความไม่เข้าใจในภาษาไทย จึงไม่มีเหตุจำเป็นจะต้องใช้ล่ามแปลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5476/2537
การที่ล่ามแปลคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยโดยมิได้สาบานหรือปฏิญาณตนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 วรรคสองนั้น มีผลทำให้คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยใน ชั้นพิจารณาได้เท่านั้น ไม่ทำให้การสอบสวนคดีนี้เป็นการไม่ชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1760/2532
แม้ คำร้องทุกข์และคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายคนหนึ่งจะมีผู้เสียหายอีกคน หนึ่งเป็นล่ามแปล ก็เป็นคำร้องทุกข์และคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้พนักงานสอบสวนใช้ผู้เสียหายเป็นล่าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2548
จำเลย ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชกับแพทย์ทางจิตเวช และหลังจากจำเลยสืบพยานไปแล้ว ทนายจำเลยแถลงขอให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางจิตเวชมาวิเคราะห์ว่าจำเลยมีอาการ ทางจิตหรือไม่ เพื่อประโยชน์ในการต่อสู้คดีของจำเลย และขอหมายเรียกจากศาลไปให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช แต่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชประสงค์ที่จะขอให้นำตัวจำเลยไปตรวจจิตที่โรง พยาบาล แสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ยกเหตุว่าจำเลยเป็นบุคคลวิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้ คดีขึ้นกล่าวอ้างในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 เห็นว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เพื่อความรวดเร็วในการพิจารณาคดีศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะวินิจฉัยไปโดยไม่ ต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยก่อน โดยเห็นว่า ศาลชั้นต้นได้พิเคราะห์แล้วว่า ในระหว่างการสอบสวนและพิจารณาจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ เหตุที่ทนายจำเลยขอส่งตัวจำเลยไปตรวจจิตที่โรงพยาบาลนั้น ไม่เข้าเหตุตาม ป.วิ.อ. มาตรา 14 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้และจำเลยมิได้โต้แย้งคัด ค้าน การดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2542
ข้อเท็จจริงหรือเหตุที่ทำให้ศาลเชื่อหรือสงสัยว่าจำเลย เป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ อาจเป็นเพราะศาลสังเกต เห็นจากอากัปกิริยาของจำเลยเอง หรือมีผู้เสนอข้อเท็จจริง ให้ศาลทราบก็ได้ ในวันที่พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้น ธ. น้องจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นพร้อมใบตรวจโรคของแพทย์โรงพยาบาลว่า จำเลยเป็นโรคจิตเภท มีอาการระแวง พูดจาวกวน โรงพยาบาลรับตัวจำเลยไว้รักษารวม 4 ครั้งและหลังเกิดเหตุคดีนี้เพียง 3 วัน โรงพยาบาลก็ได้รับตัว จำเลยไว้รักษาอีกครั้งหนึ่งครั้งนี้จำเลยมีอาการหงุดหงิด ง่าย พูดและยิ้มคนเดียว โรงพยาบาลจำต้องดูแลรักษาต่อไป อย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้อาการกำเริบยิ่งขึ้น ดังนี้เมื่อ กรณีมีเหตุควรเชื่อในเบื้องต้นว่าจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้ คดีได้ ศาลจึงชอบที่จะสั่งให้แพทย์ตรวจ จำเลยโดยละเอียด แล้วเรียกแพทย์ผู้ตรวจมาให้ถ้อยคำต่อศาล หรือมาให้การว่าจำเลยวิกลจริตถึงขนาดไม่สามารถต่อสู้ ได้หรือไม่เสียก่อน แล้วจึงพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้พิจารณาคำ ร้องของธ. น้องจำเลยเป็นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาลงโทษ จำเลยโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 ก่อน จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ของประชาชน จำเลยย่อมยกขึ้นฎีกาได้ และศาลฎีกา ย่อมมีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)ประกอบด้วยมาตรา 225 สั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง โดยให้ศาลชั้นต้นส่งตัวจำเลยไป ให้แพทย์โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาหรือโรงพยาบาลอื่นที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควร ตรวจสภาพจิตและเรียกแพทย์ผู้ตรวจจำเลย มาให้ถ้อยคำหรือให้การต่อศาลว่าตรวจได้ผลประการใดแล้ว ดำเนินการพิจารณาพิพากษาไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2542
ข้อ เท็จจริงหรือเหตุที่ทำให้ศาลเชื่อหรือสงสัยว่าจำเลย เป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้นั้น อาจเป็นเพราะ ศาลสังเกตเห็นจากอากัปกิริยาของจำเลยเอง หรือมีผู้เสนอ ข้อเท็จจริงให้ศาลทราบก็ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ มิได้พิจารณาคำร้องของธ.น้องจำเลยที่อ้างว่าจำเลยวิกลจริต และไม่สามารถต่อสู้คดีได้ในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา ของศาลชั้นต้น จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณา และพิพากษาลงโทษจำเลยโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 ก่อนไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และศาลฎีกามีอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 208(2) ประกอบด้วยมาตรา 225 สั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4268/2552
ศาล ชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์และยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 3 ร่วมกระทำความผิดด้วย ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ผู้เสียหายตามฟ้อง จำเลยทั้งสามมิได้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชิงทรัพย์ผู้เสียหายจึงเป็นอันยุติ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังว่าจำเลยที่ 3 ร่วมกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ด้วยและพิพากษาแก้เฉพาะบทจากความผิดฐานชิง ทรัพย์เป็นปล้นทรัพย์ มิได้แก้ไขโทษ เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 เกินห้าปี แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง แต่จำเลยที่ 1 คงมีสิทธิฎีกาได้เฉพาะในปัญหาว่าจำเลยที่ 3 มิได้ร่วมกระทำความผิดด้วยอันจะทำให้การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์เท่านั้น จำเลยที่ 1 จะหวนกลับมาใช้สิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ร่วมกันชิงทรัพย์ผู้เสียหายอีกไม่ได้ ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันเอาทรัพย์ของผู้เสียหาย ไป ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานทำร้ายร่างกาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาล อุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2742/2551
ฎีกา ของจำเลยที่ 2 เป็นฎีกาทำนองปฏิเสธว่ามิได้กระทำความผิด เมื่อคดีนี้จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามฟ้อง แม้จำเลยที่ 2 ได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่วินิจฉัย จำเลยก็ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่าศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่วินิจฉัยนั้นไม่ชอบอย่างไร ฎีกาของจำเลยที่ 2 จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2551
ผู้ ร้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลา อุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นภายในกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันอ่านคำสั่งให้คู่ความฟัง คดีของผู้ร้องรูปคดีไม่ซับซ้อน ผู้ร้องมีทนายความคนเดิมซึ่งมีอำนาจอุทธรณ์ได้ย่อมอยู่ในวิสัยที่จะยื่น อุทธรณ์ภายในกำหนดอายุอุทธรณ์ได้ และหากผู้ร้องประสงค์จะแต่งตั้งทนายความคนใหม่แทนทนายความคนเดิมเพื่อยื่น อุทธรณ์ ผู้ร้องต้องติดต่อและแต่งตั้งให้เป็นทนายความแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้มีระยะเวลาเพียงพอที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ แต่ผู้ร้องกลับปล่อยปละละเลยเพิ่งแต่งตั้งทนายความคนใหม่เพื่อดำเนินกระบวน พิจารณาในชั้นอุทธรณ์ในวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์และทนายความผู้ ร้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป โดยอ้างในคำร้องว่าผู้ร้องเพิ่งติดต่อให้ยื่นอุทธรณ์และคดีมีรายละเอียด เกี่ยวกับเอกสารจำนวนมาก อันเป็นความบกพร่องของผู้ร้องเอง กรณีของผู้ร้องยังถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2550
ฎีกา ของจำเลยไม่มีลายมือชื่อผู้ฎีกา โดยเหตุที่ฎีกาเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตามคำนิยามในมาตรา 1 (3) แห่ง ป.วิ.พ. ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ดังนั้น เมื่อไม่มีลายมือชื่อผู้ฎีกา ฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 158 (7) ประกอบด้วยมาตรา 215 และ 225 แห่ง ป.วิ.อ.